วิธีอ่านSpec แคลเซียมคาร์บอเนตผง เข้าใจง่ายใน2นาที
วิธีอ่านSpec แคลเซียมคาร์บอเนตผง เข้าใจง่ายใน2นาที
ตอนที่ 1. วิธีอ่านSpec แคลเซียมคาร์บอเนตผง เข้าใจง่ายใน2นาที
ภาพรวมของspecมักจะแบ่งเป็น2ส่วน ในที่นี้เราขอเปรียบเทียบแคลเซียมผงเหมือนผู้หญิง
- Chemical Properties หรือ คุณสมบัติทางเคมี เปรียบง่ายๆเหมือนร่างกาย มีเนื้อ กระดูก เลือด เอ็นไขมันอย่างละกี่ % ซึ่งผู้หญิงโดยทั่วไปก็จะมี%พื้นฐานคล้าย ๆ กัน
- Physical Properties หรือคุณสมบัติทางกายภาพ เปรียบเหมือน หุ่นของผู้หญิงที่เรากำลังมอง ซึ่งมี 4ข้อที่ควรพิจารณา
ข้อที่1 Particle Size หรือ ขนาดความละเอียดของแคลเซียมผงเบอร์นั้นๆ ตัวเลขน้อย เช่น2ไมครอนคือขนาดเล็กละเอียด ก็เหมือนผู้หญิงร่างเล็ก ตัวเลขมาก เช่น13ไมครอน คือขนาดใหญ่ขึ้น เหมือน ผู้หญิงร่างใหญ่ จะเลือกแบบไหนต้องให้เหมาะกับชิ้นงานของคุณๆ
ข้อที่2 Moisture Content คือ %ความชื้นของแคลเซียมผงซึ่งโดยปกติจะต่ำกว่า0.5% ยิ่งมากยิ่งไม่ดี เพราะความชื้นจะทำให้แคลเซียมผงจับตัวกัน ไม่ไหลลื่น เหมือนผู้หญิงตัวเหนียวคงไม่ดีนัก
ข้อที่3 Residue On 325Mesh คือ %กากค้างตระแกรง325เมช ยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะหมายถึง ผลิตได้ละเอียดสม่ำเสมอ มีเม็ดโตตกค้างน้อย เป็นสาวผิวเนียนนั่นเอง
ข้อที่4 Whiteness Powder (dry)หมายถึงความขาวตอนเป็นผงแห้ง ตัวเลขยิ่งเยอะคือยิ่งขาว เหมือนผู้หญิง มีทั้งผิวขาวมาก ขาวเหลือง ผิวสีน้ำผึ้ง ก็สวยคนละแบบ ทั้งนี้ควรเลือกให้พอเหมาะกับการใช้งาน จะได้ไม่ต้องจ่ายแพงเพราะความขาวที่อาจไม่จำเป็น
บทความสั้นๆนี้คงจะช่วยให้การอ่านSpecแคลเซียมผง เป็นเรื่องเข้าใจง่ายได้มากขึ้น แล้วพบกับการอ่านSpecแคลเซียมผงเคลือบผิว และนาโนแคลเซียมได้ในตอนต่อๆไป หากถูกใจก็กดแชร์ไปได้เลย ^^
ตอนที่ 2. 3 ข้อสำคัญของ spec แคลเซียมคาร์บอเนตผงเคลือบผิว
ตอนที่ 1 เราเข้าใจภาพรวมของ spec. แคลเซียมคาร์บอเนตผงไปแล้ว ตอนที่ 2 นี้เราจะพูดถึงเฉพาะ physical properties หรือ คุณสมบัติทางกายภาพของแคลเซียมผงชนิดเคลือบผิวกัน
3 ข้อสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ
1. Average Particle size คือ ค่าความละเอียดเฉลี่ย ซึ่งดูที่ค่า D43 จากกราฟ ( ถ้ามีให้) มิใช่ D50 อย่างที่เข้าใจกัน ขนาดที่ใช้ทั่วไปคือ 2 - 3 ไมครอน ซึ่งละเอียดมากพอและใช้งานง่าย
2. Top cut หรือขนาดอนุภาคที่ใหญ่สุด ซึ่งจะดูที่ค่า D98 (จากกราฟอีกเช่นกัน ) ส่วนอีก 2% ที่เหลือซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าจะถือว่าไม่มีผลมากต่อคุณภาพสินค้าของลูกค้า
และสุดท้าย
3. Whiteness หรือความขาว หากชิ้นงานของลูกค้าเป็นงานแข็งผ่าน dry process ก็ให้ดูเฉพาะค่า dry whiteness แต่หากเป็นชิ้นงานอ่อนหรือเหลว มีการใช้ oil หรือ plastisizer ก็ให้ดูค่า wet / paste whiteness เป็นหลัก
เมื่อเปรียบเทียบ 3 ข้อนี้จาก spec. ของผู้ผลิต ก็จะทราบได้ง่ายว่าจะเลือกแคลเซียมจากผู้ผลิตรายใดดีกว่ากัน
24 มิถุนายน 2563
ผู้ชม 444 ครั้ง